ข้อมูลแผนกช่างอิเล็กทรอนิกส์

สัญลักษณ์


ประวัติความเป็นมาของแผนก
 อิเล็กทรอนิกส์

            เมื่อปี พ.ศ.2481 กระทรวงศึกษาธิการ อนุมัติให้จัดตั้งโรงเรียนสายอาชีพขึ้นในจังหวัดเลย หลวงวิวิธสุรการ
(ถวิล เจียรมานพ) ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดเลย ได้สั่งการให้นายทิพ ฟักเจียม (ศึกษาธิการจังหวัดเลย)
เป็นผู้ดำเนินการจัดตั้งโรงเรียน เริ่มรับสมัครนักเรียนเข้าเรียน เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2481
        วันที่ 15 กันยายน 2481 เวลา 09.00 น. ทำพิธีเปิดป้าย "โรงเรียนประถมอาชีพช่างไม้เลย" ประจำจังหวัดเลย
โดยมีหลวงวิวิธสุรการ ผู้ว่าราชการจังหวัดเลย เป็นประธานในพิธีเปิด
        วันที่ 5 มิถุนายน 2482 ย้ายจากที่ตั้งเดิม มาอยู่ที่ปัจจุบัน
        วันที่ 26 สิงหาคม 2495 เปลี่ยนชื่อจาก "โรงเรียนประถมอาชีพช่างไม้เลย" เป็น "โรงเรียนช่างไม้เลย"
        วันที่ 24 สิงหาคม 2502 เปลี่ยนชื่อจาก "โรงเรียนช่างไม้เลย" เป็น "โรงเรียนการช่างเลย"
        วันที่ 1 มกราคม 2522 เปลี่ยนชื่อเป็น "โรงเรียนเทคนิคเลย "
        วันที่ 20 พฤษภาคม 2523 เปิดสอน แผนกวิชาช่างอิเล็กทรอนิกส์ รับนักเรียน ระดับปวช. จำนวน 60 คน 
        วันที่ 1 เมษายน 2524 ยกฐานะเป็น "วิทยาลัยเทคนิคเลย " 
        ปีการศึกษา 2530 เปิดสอนระดับ ปวส. แผนกวิชาช่างอิเล็กทรอนิกส์
        ปีการศึกษา 2541 เปิดสอนระดับ ปวส.สมทบ สาขาวิชาเทคนิคคอมพิวเตอร์

สภาพปัจจุบัน  
         การจัดการศึกษา เปิดทำการสอน 2 ระดับ คือ
        1. ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.)
            - อิเล็กทรอนิกส์
            - เทคนิคคอมพิวเตอร์
        2. ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.)
            - เทคนิคคอมพิวเตอร์ (สายตรง และ ม.6)
            - อิเล็กทรอนิกส์ (สายตรง และ ม.6)
            - อิเล็กทรอนิกส์อุตสาหกรรม (สายตรง)

วิสัยทัศน์ (Vision)
                ครูผู้สอนต้องจัดการศึกษาให้เกิดการปฏิรูปการศึกษา การเรียนรู้ ตามแนวพระราชบัญญัติ การศึกษาแห่งชาติ 
เพื่อให้ผู้เรียนมีการพัฒนาเต็มศักยภาพ และมีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการจัดดารศึกษา 
จัดกระบวนการอย่างมีระบบตามขั้นตอน คือ วางแผน (Plan) การปฏิบัติตามแผน (Do) การตรวจสอบ ติดตามประเมินผล
(Check) และการพัฒนาปรับปรุง (Act)

พันธกิจ (Mission)
        - ส่งเสริมสนับสนุนให้บุคลากรในแผนก ให้มีความรู้เกี่ยวกับระบบการประกันคุณภาพการศึกษาขึ้น
        - สรุปรายงานผลการประเมินตนเองของแผนกวิชาเพื่อรับการประเมินภายใน
        - นำผลการประเมินมาพัฒนาเสริมจุดแข็งและแก้ไขปรับปรุงจุดด้อยให้สัมฤทธิ์ผลการประกันคุณภาพ
        - พัฒนาระบบประกันคุณภาพการศึกษา โดยใช้ระบบการประกันคุณภาพการศึกษาที่วิทยาลัยกำหนดเป็นหลัก

^