วิสัยทัศน์วิทยาลัย
วัตถุประสงค์ของวิทยาลัย คือ การจัดการศึกษา เพื่อมุ่งให้ผู้สำเร็จการศึกษา สามารถออกไปประกอบอาชีพสามารถสร้างงานเพื่อประกอบอาชีพอิสระได้และมีพื้นฐานความรู้เพียงพอสำหรับการศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม พัฒนานักศึกษาให้เป็นผู้ประกอบด้วยคุณธรรม เพื่อให้สอดคล้องกับปรัชญาของ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา “ทักษะเยี่ยม เปี่ยมคุณธรรม ล้ำเลิศวิชา ใช้เวลาให้เกิดคุณ” เพื่อให้นักศึกษาที่สำเร็จออกไปมีงานทำตรงตามสายงานมีรายได้เพียงพอต่อการดำรงชีพอันเป็นเป้าหมายสูงสุดของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
วิสัยทัศน์ (Vision)
“พัฒนาผู้เรียนสู่มาตรฐานสากล บนพื้นฐานคุณธรรม จริยธรรม ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง”
ปรัชญาของวิทยาลัย
"วิชาดี ฝีมือเยี่ยม เปี่ยมคุณธรรม เป็นผู้นำทางอาชีพ"
อัตลักษณ์ของวิทยาลัย
"ทักษะดี มีจิตอาสา"
เอกลักษณ์ของวิทยาลัย
"องค์กรแห่งการเรียนรู้ด้านวิชาชีพ"
พันธกิจ (Mission)
1. ผลิตและพัฒนากำลังคนและจัดการศิกษาวิชาชีพ เพื่อความมั่นคงของสังคมและประเทศชาติ
2. ส่งเสริมการจัดการศึกษาวิชาชีพเฉพาะทาง การบริการ ตามความต้องการของชุมชนท้องถิ่น
3. ส่งเสริมการวิจัยและนวัตกรรม หุ่นยนต์ เพื่อสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
4. พัฒนาหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอนวิชาชีพตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
5. จัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนตามศักยภาพให้มีคุณธรรม จริยธรรม จิตอาสา และสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้
6. พัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาอย่างต่อเนื่อง
ยุทธศาสตร์ (Strategy)
ยุทธศาสตร์ที่ 1 มุ่งผลิตและพัฒนากำลังคนที่มีคุณภาพตรงตามวิชาชีพ
ยุทธศาสตร์ที่ 2 ส่งเสริมให้เกิดนวัตกรรม เพื่อการประกวดแข่งขันในทุกระดับ
ยุทธศาสตร์ที่ 3 ส่งเสริมพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ยุทธศาสตร์ที่ 4 ส่งเสริมการจัดกิจกรรมพัฒนานักเรียน นักศึกษา ให้มีคุณธรรม จริยธรรม อ่อนน้อมถ่อมตนและมีจิตสาธารณะ
ยุทธศาสตร์ที่ 5 ส่งเสริมการบริการวิชาชีพสู่ชุมชน
ยุทธศาสตร์ที่ 6 ส่งเสริมครูและบุคลากรทางการศึกษา มีคุณภาพและสมรรถนะตามมาตรฐานวิชาชีพ
เป้าประสงค์
1. ผู้เรียนและประชาชนได้รับการศึกษาและพัฒนาทักษะวิชาชีพตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพได้มาตรฐาน
2. ผู้เรียนได้รับการศึกษาวิชาชีพที่มีคุณภาพและมาตรฐานตามมาตรฐานการศึกษาของชาติ
3. ผลิตและพัฒนากำลังคนด้านอาชีวศึกษาตอบสนองความต้องในการพัฒนาประเทศ
4. ผู้เรียนและประชาชนในจังหวัด ได้รับการศึกษาและฝึกอบรมวิชาชีพ
5. เพื่อให้การบริหารจัดการอาชีวศึกษามีประสิทธิภาพสูงขึ้น
6. ผลงานวิจัยและนวัตกรรมที่ได้รับการเผยแพร่หรือนำไปใช้ประโยชน์เพิ่มขึ้น
7. ผู้เรียนและผู้สำเร็จการศึกษาวิชาชีพ มีทักษะวิชาชีพตามมาตรฐานช่างฝีมือและช่างเทคนิคเป็นที่ยอมรับของตลาดแรงงาน
และประกอบอาชีพอิสระได้
8. ผู้เรียนมีทักษะด้านวิชาชีพ เมื่อสำเร็จการศึกษา สามารถประกอบอาชีพและดำรงชีวิตได้อย่างมีความสุข
9. พัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะที่ดี 5 ด้าน คือ ด้านวิชาการ ด้านคุณธรรม จริยธรรม ด้านบุคลิกภาพและมนุษย์สัมพันธ์ ด้านสิ่งแวดล้อม
และการทำนุ บำรุงศิลปวัฒนธรรม และ ประเพณี
10. ให้บริการวิชาชีพและส่งเสริมความรู้ พัฒนาชุมชมและท้องถิ่น
11. ผลงานวิจัยและนวัตกรรมที่ได้รับการเผยแพร่แล้ว นำไปใช้ประโยชน์
12. การบริหารของผู้บริหารสอดคล้องกับแผนปฏิบัติการ โดยมีส่วนร่วมของประชาคมอาชีวศึกษาด้วย ความโปร่งใส และตรวจสอบได้
การจัดการศึกษา
ปัจจุบันวิทยาลัยเทคนิคเลย เปิดทำการสอนใน 3 ระดับ คือ ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) 2 ประเภทวิชา คือ ประเภทวิชาช่างอุตสาหกรรม และประเภทวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และ ระดับปริญญาตรีหลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต (ทล.บ.)
ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ทำการเปิดสอนในประเภทวิชาช่างอุตสาหกรรม รวม 10 สาขาวิชา และประเภทวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร 1 สาขาวิชา คือ
1. สาขาวิชาช่างยนต์ (สาขางานยานยนต์)
2. สาขาวิชาช่างกลโรงงาน (สาขางานเครื่องมือกล)
3. สาขาวิชาช่างเชื่อมโลหะ (สาขางานผลิตภัณฑ์)
4. สาขาวิชาช่างไฟฟ้ากำลัง (สาขางานไฟฟ้ากำลัง)
5. สาขาวิชาช่างอิเล็กทรอนิกส์ (สาขางานอิเล็กทรอนิกส์)
6. สาขาวิชาเมคคาทรอนิกส์ (สาขางานเมคคาทรอนิกส์)
7. สาขาวิชาช่างก่อสร้าง (สาขางานก่อสร้าง)
8. สาขาวิชาโยธา (สาขางานโยธา)
9. สาขาวิชาสถาปัตยกรรม (สาขางานสถาปัตยกรรม)
10. สาขาวิชาเทคนิคคอมพิวเตอร์ (สาขางานเทคนิคคอมพิวเตอร์)
11. สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ (สาขางานซอฟต์แวร์ระบบสมองกลฝังตัวและไอโอที)
ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ทำการเปิดสอนใน ประเภทวิชาช่างอุตสาหกรรม รวม 10 สาขาวิชา คือ
1. สาขาวิชาเครื่องกล (สาขางานเทคนิคยานยนต์) และ (สาขางานเทคนิคซ่อมตัวถังและสีรถยนต์)
2. สาขาวิชาเทคนิคการผลิต (สาขางานเครื่องมือกล)
3. สาขาวิชาเทคนิคโลหะ (สาขางานเทคโนโลยีงานเชื่อมโครงสร้างโลหะ)
4. สาขาวิชาไฟฟ้า (สาขางานไฟฟ้าควบคุม) และ (สาขางานไฟฟ้ากำลัง)
5. สาขาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ (สาขางานคอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์)
6. สาขาวิชาอิเล็กทรอนิกส์ (สาขางานอิเล็กทรอนิกส์อุตสาหกรรม)
7. สาขาวิชาเมคคาทรอนิกส์และหุ่นยนต์ (สาขางานเมคคาทรอนิกส์และหุ่นยนต์)
8. สาขาวิชาการก่อสร้าง (สาขางานก่อสร้าง)
9. สาขาวิชาโยธา (สาขางานโยธา)
10. สาขาวิชาเทคนิคสถาปัตยกรรม (สาขางานเทคนิคสถาปัตยกรรม)
ประเภทวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร รวม 1 สาขาวิชา คือ
1. สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ (สาขางานนักพัฒนาซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์)
ระดับปริญญาตรีหลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต (ทล.บ.) ทำการเปิดสอน จำนวน 4 สาขาวิชา คือ
1. สาขาเทคโนโลยีการก่อสร้าง (ปีการศึกษา 2564 เปลี่ยนชื่อเป็นสาขาเทคโนโลยีโยธา)
2. สาขาเทคโนโลยีไฟฟ้า
3. ปีการศึกษา 2559 เปิดสาขาเทคโนโลยียานยนต์ (ปีการศึกษา 2564 เปลี่ยนชื่อเป็นสาขาเทคโนโลยีเครื่องกล)
4. ปีการศึกษา 2564 เปิดสาขาเทคโนโลยีการผลิด
Loeitech
L - Learning Society สังคมการเรียนรู้
O - Outcome Result base มุ่งผลสัมฤทธิ์ผู้เรียน
E - Explicit Tacit Knowledge ความรู้คู่คุณธรรม
I - Innovation สถานศึกษาด้านนวัตกรรม
T - Technology ใช้เทคโนโลยีในการบริหารจัดการ
E - Empowerment ร่วมแรงร่วมใจ
C - Community of Practices (CoPs) ชุมชนแห่งนักปฏิบัติ
H - High Standard มาตรฐานสูง