ประวัติวิทยาลัย

พระวิษณุกรรม

ที่ตั้ง  วิทยาลัยเทคนิคเลย ตั้งอยู่เลขที่ 272 ถ.เจริญรัฐ ต.กุดป่อง อ.เมือง จ.เลย รหัสไปรษณีย์ 42000
        โทรศัพท์  042-811591 โทรสาร 042 - 812568
โทรศัพท์มือถือ  080-1502400
         เว็บไซต์  https://www.loeitech.ac.th     Email Address : loei@loeitech.mail.go.th
Facebook ::: https://www.facebook.com/www.loeitech.ac.th/

  สีประจำวิทยาลัย          สีเขียว – ขาว

         สีเขียว    มาจาก    สีเหลืองกับสีน้ำเงินผสมกัน
         สีเหลือง  หมายถึง  ความสว่าง ปัญญา
         สีน้ำเงิน  หมายถึง   ความสูงศักดิ์ (Noble Rank)
         สีขาว     หมายถึง   ความซื่อสัตย์ บริสุทธิ์
 ดังนั้น  สีเขียว – ขาว จึงหมายความว่า
          “สถาบันสร้างสมปัญญา เกียรติศักดิ์ ความซื่อสัตย์แห่งตน และวิชาชีพ”

 ตราวิทยาลัยเทคนิคเลย

Loeitech

Download โลโก้ :: วท.เลย :: อาชีวศึกษา

               กระทรวงศึกษาธิการได้ตั้ง " โรงเรียนช่างไม้เลย" ขึ้นและได้เปิดทำการสอน เมื่อ วันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ.2481 ตั้งอยู่บริเวณริมฝั่งแม่น้ำเลย (หน้าศาลาเทศบาลเมืองเลย) ต่อมาถูกน้ำท่วมกัดเซาะพังไปหมดจึงได้ย้ายมาตั้งที่ใหม่ คือ บริเวณบ้านติ้ว ( ซึ่งเป็นสถานที่ตั้งวิทยาลัยเทคนิคเลย ในปัจจุบันนี้ ) เมื่อเริ่มเปิดสอนครั้งแรกนั้น มีครู 2 คน และ มีนักเรียน เพียง 16 คน โดยมี นาย เจริญ หัตถกรรม เป็นครูใหญ่ ซึ่งได้เปิดรับนักเรียนที่จบชั้นประถม 4 เข้าเรียน มีหลักสูตร 3 ปี ซึ่งเรียกว่า " อาชีวะศึกษาตอนต้น " ทำการสอนวิชาช่างไม้ เมื่อจบการศึกษาเทียบเท่าชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2496 ทางกรมอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ได้ขยายหลักสูตรการสอนเพิ่มขึ้นอีก 3 ปีเรียกว่า "อาชีวะศึกษาตอนปลาย" โดยรับนักศึกษาที่เรียนจบ เมื่อจบเทียบเท่าชั้นมัธยม ศึกษาปีที่ 6

พ.ศ. 2500 กรมอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ได้สั่งการให้ขยายหลักสูตรการสอน เพิ่มขึ้นอีก 3 ปี เป็น " ประโยคอาชีวศึกษาชั้นสูง " รับนักเรียนชั้นมัธยมปีที่ 6 และจากผู้สำเร็จอาชีวศึกษาตอนปลายทำการสอนวิชาช่างไม้และก่อสร้าง ส่วนอาชีวศึกษาตอนปลายให้ตัดออก
ต่อมาเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2502 กรมอาชีวศึกษา ได้สั่งการให้เปลี่ยนชื่อโรงเรียนจากเดิม คือ " โรงเรียนช่างไม้เลย" เป็น "โรงเรียนการช่างเลย" และได้ทำการเปิดป้ายชื่อโรงเรียนอย่างเป็นทางการ เมื่อ วันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2502 จึงถือได้ว่าวันนี้เป็นวันสถาปนาโรงเรียน ดั้งนั้น พอถึง วันที่ 15 กันยายน ของทุก ๆ ปี จะมีการจัดงานวันคล้าย วันสถาปนาขึ้น
พ.ศ. 2516 โรงเรียนการช่างเลยได้งบประมาณในการปรับปรุงพัฒนาโรงเรียนเพิ่มเติมตามลำดับ และ อาคารเก่า ๆ ได้ถูกรื้อถอนออกไปอาคารเก่า ๆ ได้ถูกรื้อถอนออกไป
พ.ศ. 2517 ได้งบประมาณ เพื่อจัดซื้อที่ดินเพิ่มเติม จำนวน 19 ไร่ 2 งาน รวมถึงปัจจุบันมีพื้นที่ 25 ไร่ 2 งาน และ ได้เปิดสอนแผนกวิชาต่าง ๆ เพิ่มขึ้นอีกตามลำดับดั้งนี้
พ.ศ. 2515 เปิดสอนแผนกวิชาช่าง ยนต์ ( ระดับชั้น ปวช. )
พ.ศ. 2518 เปิดสอนแผนกวิชาช่าง เชื่อมโลหะแผ่น ( ระดับชั้น ปวช. ) และได้ทำการเปิดสอน รอบเช้า - รอบบ่าย โดยเปิดสอนตั้งแต่เวลา 07.30 - 20.00 น. ทุกวัน เว้นวันอาทิตย์และวันหยุดราชการ
พ.ศ. 2521 เปิดสอนแผนกวิชาช่าง ไฟฟ้า ( ระดับชั้น ปวช. )
พ.ศ. 2522 วันที่ 1 มกราคม ได้เปลี่ยนชื่อจาก "โรงเรียนการช่างเลย " เป็น " โรงเรียนเทคนิคเลย "
พ.ศ. 2522 เปิดสอนแผนกวิชาช่าง อิเล็กทรอนิกส์ ( ระดับชั้น ปวช. )
พ.ศ. 2524 ได้ยกฐานะจาก " โรงเรียนเทคนิคเลย " มาเป็น " วิทยาลัยเทคนิคเลย "
พ.ศ. 2525 เปิดสอนแผนกวิชา เทคนิควิศวกรรมโยธา ( ระดับชั้น ปวท. )
พ.ศ. 2529 เปิดสอนระดับ ปวส. แผนกวิชาช่างไฟฟ้า
พ.ศ. 2530 เปิดสอนระดับ ปวส. แผนกวิชาช่างอิเล็กทรอนิกส์
พ.ศ. 2531 เปิดสอนระดับ ปวส. แผนกวิชาช่างยนต์
พ.ศ. 2536 เปิดสอนระดับ ปวช. แผนกวิชาช่างกลโรงงาน
พ.ศ. 2538 เปิดสอนระดับ ปวส. แผนกวิชาช่างก่อสร้าง แผนกวิชาช่างเทคนิคโลหะ
พ.ศ. 2539 เปิดสอนระดับ ปวส. แผนกวิชาช่างเทคนิคการผลิต
พ.ศ. 2549 เปิดสอนสาขาสถาปัตยกรรม แผนกวิชาช่างก่อสร้าง (ระดับ ปวช.)
พ.ศ. 2550 เปิดสอนระดับ ปวส. แผนกวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ
พ.ศ. 2551 แต่งตั้งแผนกวิชาสถาปัตยกรรม (ยกเลิกในเวลาต่อมา)
พ.ศ. 2552 แต่งตั้งแผนกวิชาโยธา (ยกเลิกในเวลาต่อมา)
พ.ศ. 2552 ก่อตั้งแผนกวิชาเทคโนโลยีโทรคมนาคม (ยกเลิกในเวลาต่อมา)
พ.ศ. 2553 ก่อตั้งแผนกวิชาพาณิชยการ (ยกเลิกในเวลาต่อมา) 
พ.ศ. 2555 เปิดสอนระดับ ปวส. แผนกวิชาช่างยนต์ (ระบบทวิภาคี)
พ.ศ. 2556 เปิดสอนระดับ ปวช. 
แผนกวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ (สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ)
พ.ศ. 2557 เปิดสอนระดับปริญญาตรีหลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต (ทล.บ.) สาขาเทคโนโลยีการก่อสร้าง (พ.ศ. 2564 เปลี่ยนชื่อสาขาเป็น สาขาเทคโนโลยีโยธา)
พ.ศ. 2558 เปิดสอนระดับปริญญาตรีหลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต (ทล.บ.) สาขาเทคโนโลยีไฟฟ้า
พ.ศ. 2559 เปิดสอนระดับปริญญาตรีหลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต (ทล.บ.) สาขาเทคโนโลยียานยนต์ 
(พ.ศ. 2564 เปลี่ยนชื่อสาขาเป็น สาขาเทคโนโลยีเครื่องกล)

พ.ศ. 2561 เปิดสอนระดับ ปวส. สาขาวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
พ.ศ. 2562 เปิดสอนระดับ ปวช. อิเล็กทรอนิกส์ (สาขาแมคคาทอนิคส์) / เทคโนโลยีสารสนเทศ (สาขาวิชาคอมพิวเตอร์แอนิเมชั่นและเกมส์)

พ.ศ. 2563 ก่อตั้งแผนกวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
พ.ศ. 2563 เปิดสอนระดับ ปวส.  แผนกวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ (สาขางานนักพัฒนาซอฟแวร์ ฯ)
พ.ศ. 2564 เปิดสอนระดับปริญญาตรีหลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต (ทล.บ.) สาขาเทคโนโลยีการผลิต
พ.ศ. 2564 เปิดสอนระดับ ปวส.  สาขาวิชาเทคนิคซ่อมตัวถังและสีรถยนต์
พ.ศ. 2564 เปิดสอน ระดับ ปวส.สาขาวิชาสถาปัตยกรรม
พ.ศ. 2565 แยกแผนกสถาปัตยกรรม ออกจากแผนกก่อสร้าง โยธา

^